วันเสาร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 2

เส้นทางการเดินทาง : เดินทางจากโรงเรียนเบญจมราชูทิศไปยังศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนไม้เรียง(51 หมู่9 ตำบลไม้เรียง อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช)ระยะทางประมาณ 80 กิโลเมตรจากตัวเมืองจ. นครศรีธรรมราช และห่างจากตัวอำเภอฉวาง 7 กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมง



สิ่งที่ประทับใจ : ได้เห็นภูมิปัญญาของชาวบ้านที่สามารถนำมาพัฒนาชุมชนได้อย่างดีเยี่ยม จนชาวชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งถือเป็นความภาคภูมิใจของชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช

สิ่งที่ได้รับ : 1.มหาวิทยาลัยธรรมชาติ

-วิธีการเลี้ยงปลาดุก ซึ่งเรียกว่า "ปลาดุกชีวภาพ" ซึ่งเลี้ยงปลาดุกโดยให้กินผักแทนเนื้อ ทำให้ต้นทุน ต่ำกว่ามาก แต่ผลผลิตที่ได้นั้นใกล้เคียงกัน


-วิธีการเลี้ยงกบ ซึ่งเรียกว่า "กบคอนโด" โดยเลี้ยงกบในบ่อซึ่งมียางรถปิดไว้วางเป็นชั้นๆเหมือนคอนโด ซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงธรรมชาติมาก จึงทำให้กบโตได้เร็ว แต่สีของกบนั้นจะมีสีดำ ดังนั้นก่อนนำไปขายจึงย้อมสีกบโดยนำกบไปแช่ในน้ำฟางข้าว จะได้กบสีเหลือง สามารถขายได้ในราคาดีขึ้น



-น้ำหมักชีวภาพ มีวิธีการทำ ดังนี้


-ครีมอาบน้ำและน้ำยาสระผม มีวิธีทำ ดังนี้


2. บ้านหมอดิน (คุณลุง อนันต์ สุวรรณโณ)
- ทราบช่วงเวลาในการออกดอก ออกผลของพืช
-วิธีการใส่ปุ่ยที่หมาะสม คือการใช้ปุ่ยวิทยาศาสตร์กับปุ๋ยเคมีควบคู่กัน
- การตรวจสอบคุณภาพดิน




3. ศูนย์เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ (คุณพรประสิทธิ์ ไม้เรียง )
- ทราบวีธีการขั้นตอนการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อของต้น กล้วยไม้ โดยมีขั้นตอนหลายขั้นตอน โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อของต้นกล้วยไม้เราจะใช้สปอร์ แล้วนำมาเลี้ยงในอาหารสังเคราะห์ในสภาวะปลอดเชื้อเพื่อป้องกันการติดเชื้อของตันกล้วยไม้
- การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อจะทำกับพืชอีกหลายชนิด เช่น กล้วยไม้ ดอกหน้าวัว พืชไม้ประดับ- การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อนอกจากจะเป็นการอนุรักษ์พันธ์พืชยังเป็นการสร้างรายได้อีกด้วย
-กล้วยไม้ที่ใหญ่ที่สุดคือ ว่านเพชรหึง หรือว่านหางช้าง ฝักของมันมีเมล็ดถึง 3 ล้านเม็ด
-กล้วยไม้เป็นดอกสมบูรณ์เพศและออกดอกในช่วงฤดูแล้งเท่านั้น



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น