วันเสาร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 3



คุณลุง ประยงค์ รณรงค์

แนวคิด : เป็นผู้ที่ริเริ่มการใช้ " แผนแม่บทชุมชน" เป็นต้นแบบของวิสาหกิจชุมชน ใช้ปัญญาที่เกิดจากการเรียนรู้ การเก็บรวบรวมข้อมูล แล้วประมวลผลนำไปสู่การปฏิบัติเพื่อพัฒนาตนเองและชุมชน ให้สามารถพึ่งตนเองได้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง



คุณลุงขจร ทิพาพงศ์

แนวคิด : คุณลุงประยงค์และลุงขจรเป็นผู้พลิกวิกฤติราคายางพาราตกต่ำ จากในอดีตราคาเพียงกิโลกรัมละ 30 บาท แต่ในปัจจุบันนี้ ราคาถึง 110 บาท จากแนวคิดการรวมกลุ่มของบุคคลต่างอาชีพ ต่างวัฒนธรรมที่มาร่วมแก้ไขปัญหาที่คล้ายๆกัน ทำให้สามารถกำหนดราคายางพาราเองได้โดยไม่ขึ้นกับพ่อค้าคนกลาง



คุณ ประสิทธิ์ ไม้เรียง

แนวคิด : จากการที่คุณน้าพรประสิทธิ์มีความมุ่งมั่นในทางด้านนี้อยู่แล้ว ทำให้ในการทดลองค่อนข้างเรียบรื่น บวกกับความรักในด้านนี้ ทำให้คุณน้าพรประสิทธิ์สามารถทดลองได้ทั้งวันทั้งคืน



คุณลุงอนันต์ สุวรรณโน

แนวคิด : เนื่องจากคุณลุงเป็นชาวสวนมาเป็นเวลานาน คุณลุงจึงมีความเชี่ยวชาญในด้านดินอยู่บ้าง บวกกับการประสานงานจากฝ่ายมหาวิทยาลัยที่เข้ามาทำการวิจัย ทำให้การหาวิธีทางทำให้ต้นไม้ออกดอก ออกผล ง่ายและสะดวกขึ้น

กิจกรรมที่ 2

เส้นทางการเดินทาง : เดินทางจากโรงเรียนเบญจมราชูทิศไปยังศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนไม้เรียง(51 หมู่9 ตำบลไม้เรียง อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช)ระยะทางประมาณ 80 กิโลเมตรจากตัวเมืองจ. นครศรีธรรมราช และห่างจากตัวอำเภอฉวาง 7 กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมง



สิ่งที่ประทับใจ : ได้เห็นภูมิปัญญาของชาวบ้านที่สามารถนำมาพัฒนาชุมชนได้อย่างดีเยี่ยม จนชาวชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งถือเป็นความภาคภูมิใจของชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช

สิ่งที่ได้รับ : 1.มหาวิทยาลัยธรรมชาติ

-วิธีการเลี้ยงปลาดุก ซึ่งเรียกว่า "ปลาดุกชีวภาพ" ซึ่งเลี้ยงปลาดุกโดยให้กินผักแทนเนื้อ ทำให้ต้นทุน ต่ำกว่ามาก แต่ผลผลิตที่ได้นั้นใกล้เคียงกัน


-วิธีการเลี้ยงกบ ซึ่งเรียกว่า "กบคอนโด" โดยเลี้ยงกบในบ่อซึ่งมียางรถปิดไว้วางเป็นชั้นๆเหมือนคอนโด ซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงธรรมชาติมาก จึงทำให้กบโตได้เร็ว แต่สีของกบนั้นจะมีสีดำ ดังนั้นก่อนนำไปขายจึงย้อมสีกบโดยนำกบไปแช่ในน้ำฟางข้าว จะได้กบสีเหลือง สามารถขายได้ในราคาดีขึ้น



-น้ำหมักชีวภาพ มีวิธีการทำ ดังนี้


-ครีมอาบน้ำและน้ำยาสระผม มีวิธีทำ ดังนี้


2. บ้านหมอดิน (คุณลุง อนันต์ สุวรรณโณ)
- ทราบช่วงเวลาในการออกดอก ออกผลของพืช
-วิธีการใส่ปุ่ยที่หมาะสม คือการใช้ปุ่ยวิทยาศาสตร์กับปุ๋ยเคมีควบคู่กัน
- การตรวจสอบคุณภาพดิน




3. ศูนย์เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ (คุณพรประสิทธิ์ ไม้เรียง )
- ทราบวีธีการขั้นตอนการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อของต้น กล้วยไม้ โดยมีขั้นตอนหลายขั้นตอน โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อของต้นกล้วยไม้เราจะใช้สปอร์ แล้วนำมาเลี้ยงในอาหารสังเคราะห์ในสภาวะปลอดเชื้อเพื่อป้องกันการติดเชื้อของตันกล้วยไม้
- การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อจะทำกับพืชอีกหลายชนิด เช่น กล้วยไม้ ดอกหน้าวัว พืชไม้ประดับ- การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อนอกจากจะเป็นการอนุรักษ์พันธ์พืชยังเป็นการสร้างรายได้อีกด้วย
-กล้วยไม้ที่ใหญ่ที่สุดคือ ว่านเพชรหึง หรือว่านหางช้าง ฝักของมันมีเมล็ดถึง 3 ล้านเม็ด
-กล้วยไม้เป็นดอกสมบูรณ์เพศและออกดอกในช่วงฤดูแล้งเท่านั้น



กิจกรรมที่ 1

สวัสดีค่ะ แนะนำตัวก่อนละกัน

ชื่อ : นางสาวปัณฑิตา ตัณฑชน

ชื่อเล่น : นิดหน่อย ^^'
วันเกิด : 23/11/2357 ; ))
อายุ : 16 ปี
การศึกษา

: ชั้นอนุบาล, ประถม จากโรงเรียนรัตนศึกษา
: ชั้นมัธยมต้น จากโรงเรียนเบญจมราชูทิศ
: ชั้นมัธยมปลายต่อโรงเรียนเดิม โครงการส่งเสริมความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี
กิจกรรมที่ชอบทำ : เล่นกีฬา ช็อปปิ้ง ลองอาหารตามร้านต่างๆ อ่านการ์ตูน
สิ่งที่ไม่ชอบ : ความวุ่นวาย ตะคาบ O.O'

วิชาที่ชอบ : คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์
คติประจำใจ : ถ้าเขาทำได้ เราก็ทำได้
E-mail :
noy_sakura_15@hotmail.com